วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายงานชิ้นที่ 2



รายงานชิ้นที่ 2 


ให้นักเรียนค้นคว้าในเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบลงในบล็อกของนักเรียน

1. กฎหมาย คืออะไร?
ตอบ   คำจำกัดความของ กฎหมาย หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ


2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
ตอบ         กฎหมายต้องมีลักษณะ  ๕ ประการดังนี้


     1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
                    
                2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์ 
              
                3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
                 
                4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
                   
                5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
                    
3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบเรัยบร้อยแก่สังคมและประเทศชาติ 

       2. การบริหารราชการแผ่นดินและการปกครองบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  

       3. สังคมจะสงบสุขเมื่อทุกคนปฎิบัติตามกฎหมาย   

       4. กฎหมายสร้างความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์   

       5. กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญ เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม

4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ      โดยใช้แหล่งกำเนิด แบ่งได้ 2 อย่าง
               1.กฎหมายภายใน
               2.กฎหมายภายนอก
1.กฎหมายภายใน 
แบ่งตามเนื้อหา แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
-กฎหมายลายลักษณ์อักษร
-กฎหมายไม่เป็ฯลายลักษณ์อักษร
แบ่งตามสภาพบังคับ แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
-กฎหมายอาญา
-กฎหมายแพ่ง
แบ่งตามลักษณะการใช้แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก
-กฎหมายสารบัญญัติ
-กฎหมายวิธีสบัญญัติ
แบ่งตามลักษณะของฐานะและความสัมพันธ์/ปปช. ได้ 2ประเภท คือ
-กฎหมายมหาชน
-กฎหมายเอกชน
2.กฎหมายภายนอก
แบ่งตามลักษณะของฐานะและความสัมพันธ์ เช่น
1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
  1. รัฐธรรมนูญ
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  3. พระราชบัญญัติ
  4. พระราชกำหนด
  5. พระราชกฤษฎีกา
  6. กฎกระทรวง
  7. ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา
6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ   ซีวิลลอว์ (อังกฤษ: civil law) เป็นระบบกฎหมายซึ่งได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมัน ลักษณะพื้นฐานของซีวิลลอว์คือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล ระบบกฎหมายดังกล่าวจึงได้ยึดถือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย และระบบศาลมักจะใช้วิธีพิจารณาโดยระบบไต่สวน และศาลจะไม่ผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนๆ

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ     ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (อังกฤษ: Common law) เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาลและศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร
"ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์" เป็นระบบกฎหมายซึ่งให้น้ำหนักในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่มีมาก่อนเป็นอย่าง มาก บนแนวคิดซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการอยุติธรรมหากตัดสินดำเนินคดีต่อข้อเท็จจริง ที่คล้ายคลึงกันในโอกาสที่ต่างกัน ทำให้การตัดสินคดีตาม "คอมมอนลอว์" ผูกมัดการตัดสินคดีในอนาคตตามไปด้วย ในกรณีซึ่งมีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว ศาลคอมมอนลอว์ที่เหมาะสมที่สุดจะตรวจสอบการตัดสินคดีที่ผ่านมาของศาลที่มี ลักษณะใกล้เคียงกัน หากข้อพิพาทที่คล้ายคลึงกันได้รับการแก้ไขแล้วในอดีต ศาลจะถูกผูกมัดให้ตัดสินคดีตามการให้เหตุผลซึ่งใช้ในการตัดสินคดีครั้งก่อน ๆ อย่างไรก็ตาม หากศาลพบว่าข้อพิพาทในปัจจุบันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับการตัดสินดคีใน อดีตทั้งหมด ผู้พิพากษาจะมีอำนาจและหน้าที่ที่จะสร้างกฎหมายโดยการริเริ่มเป็นแบบอย่าง ภายหลังจากนั้น การตัดสินคดีครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างแก่การตัดสินคดีครั้งต่อไป ซึ่งศาลในอนาคตจะต้องยึดมั่น
8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ  มี 4ระบบ ได้แก่
         1.ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค
         2.ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
         3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม
        4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม

9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ  ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค

10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
ตอบ   จะต้องมี 5ประการ ดังนี้
          1.ต้องมีประชาชนรวมกันอยู่เป็ฯกลุ่มก้อนเรียกว่า พลเมือง
          2.ต้องมีดินแดนเป็นของตนเอง ซึ่งมีอาณาเขตแน่นอน
          3.ต้องมีการปกครองเป็ฯระเบียบแบบแผน
         4.ต้องมีเอกราชไม่ขึ้นแกรัฐอื่น